ขอบพระคุณ คุณ
วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ของฝาก จังหวัดเชียงราย
หมูยอ ไส้อั่ว แหนม น้ำพริกหนุ่ม
ล้วนเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของเชียงราย มีรสชาติกลมกล่อม ทำจากเนื้อหมูล้วนและไม่ใส่สารกันบูด
แหล่งที่มาของข้อมูล https://sites.google.com/site/pattanapongkeawdacha/khxngdi-canghwad-cheiyngray
ล้วนเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อของเชียงราย มีรสชาติกลมกล่อม ทำจากเนื้อหมูล้วนและไม่ใส่สารกันบูด
แหล่งที่มาของข้อมูล https://sites.google.com/site/pattanapongkeawdacha/khxngdi-canghwad-cheiyngray
อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย
แกงฮังเล
แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล ”หรือ “ ฮังแล ” นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น
ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู
ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู
แกงโฮ๊ะ
แกงโฮ๊ะ คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะนั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้
ข้าวซอย
ข้าวซอย คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส
ขนมจีนน้ำเงี้ยว
ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน,เลือดหมู, เนื้อหมู, มะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น
แหล่งที่มาของข้อมูล http://orachaporn2539.blogspot.com/2013/08/blog-post_484.html
วัฒนธรรมประเพณี จังหวัดเชียงราย
ประเพณีป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
กำหนดให้มีตั้งแต่วันที่ 13-16 เมษายน
โดยการเนรมิตถนนเล่นน้ำกลางเมืองเชียงราย ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น
ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้า สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ขนทรายเข้าวัด
สรงน้ำพ่อขุนเม็งรายมหาราช รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุแต่ละชุมชน ประกวดเทพีสงกรานต์
แข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ขบวนแห่ ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง บนถนนเล่นน้ำคือ ถนนธนาลัย
จะใช้เป็นถนนเพื่อการเล่นน้ำตลอดทั้งสาย
โดยเทศบาลได้ออกแบบอุโมงค์ที่มีสายน้ำใสสะอาดพุ่งออกมาจากทั้งสองฟากถนน
รวมทั้งติดตั้งระบบน้ำพุ
เพื่อสร้างสีสันบรรยากาศของความชุ่มฉ่ำของสายน้ำตลอดเทศกาล
พร้อมกันนี้ได้จัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ
หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ และผู้สูงอายุ
เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือและความเป็นสิริมงคลตามประเพณีที่ชาวล้านนาได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา
ตลอดทั้งเป็นการ่วมสืบสานวัฒนธรรมอันดีให้กับชนรุ่นหลัง
ประเพณียี่เป็งลอยกระทง
จัดขึ้น ณ สนามฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (สนาม รด.)
เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยจะมีการจัดงาน 2 วัน
ในวันแรกจะมีกิจกรรมลอยกระทงเล็ก การประกวดหนูน้อยนพมาศ และวันต่อมาจะมีขบวนแห่กระทงที่ยิ่งใหญ่จากสวนตุง
และโคมฯ ถนนธนาลัย สู่สถานที่จัดงาน และ มีการประกวดนางนพมาศ ประกวดโคม
ประกวดกระทง พร้อมการแสดงบนเวทีอย่างตระการตา
โครงการจัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
เป็นการจัดงานเพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่
ไทย ลาว จีน พม่า เวียดนาม และกัมพูชา
เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม
ประเพณีระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายและประเทศไทย
รวมทั้งเป็นการสานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้แนบแน่น
เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นการผูกมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน
อันจะนำไปสู่การขยายฐานความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
ส่งผลดีในปัจจุบันและอนาคตทางด้านการค้า
การลงทุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จึงทำให้เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ
จัดขึ้นราวปลายเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายนของทุกปี
ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเจียงฮาย
เป็นขบวนแห่พระคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญๆ
ของวัดต่างๆ
ประดิษฐานบนบุษบกแห่ให้ประชาชนสักการะบูชาโปรยข้าวตอกดอกไม้ในบ่ายวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี
เพื่อเป็นศิริมงคลสำหรับเมืองเชียงราย
ส่งท้ายปีเก่าที่กำลังจะผ่านไปและรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง แล้วตักบาตรในวันที่ 1
มกราคมตอนเช้ารับวันปีใหม่ ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก
ด้วยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการะบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ ในตัวเมืองเชียงราย
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย
มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย
จัดเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย
ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการะบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้
จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
เทศกาลวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา
เมื่อถึงวันนี้แล้วพระภิกษุสามเณรจะต้องทำพิธีอธิษฐานพรรษา คือ
อธิษฐานเพื่ออยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งที่ตนทำพิธีอธิษฐานนั้นตลอด 3 เดือนในฤดูฝน
คือตั้งแต่แรม 11 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เมื่อถึงวันเข้าพรรษา
พุทธศาสนิกชนย่อมมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้บำเพ็ญบุญบำเพ็ญกุศลเป็นพิเศษ
เช่น การถวายผ้าอาบน้ำฝน การถวายจตุปัจจัยไทยธรรมและถวายเทียนพรรษา
ซึ่งถือว่าเป็นการถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาระหว่างพรรษา
และเพื่อให้ความสว่างในเวลามีพิธีกรรมทางศาสนาในเวลากลางคืน ดังนั้นจังหวัดเชียงรายมีความตระหนักและเห็นความสำคัญจึงได้ยึดเป็นนโยบายหลัก
ในการสนับสนุนส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
จึงได้จัดทำโครงการสืบสานประเพณีหล่อเทียนพรรษาขึ้น
และจัดขบวนเทียนพรรษาอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำทุกปี บริเวณสวนตุงและโคมฯ ถนนธนาลัย
งานตานหาพญามังราย
นื่องในวันที่ 26 มกราคม ของทุกปี
จะเป็นวันคล้ายวันที่พญามังราย หรือ พ่อขุนเม็งรายมหาราช
ได้ทรงสร้างเมืองเชียงรายไว้เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.1805 เทศบาลนครเชียงราย
ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลสักการะดวงพระวิญญาณพ่อขุนเม็งรายมหาราชขึ้นในวันที่
25 มกราคม ของทุกปี ณ วัดดอยงำเมือง ในงานมีกิจกรรมทางศาสนาจัดพิธีกรรมแบบล้านนา
ซึ่งประกอบไปด้วย พิธีสักการะบูชาพระสถูป การสืบชะตาเมือง การทำบุญเมือง
และการจัดกิจกรรมสมโภชเมือง อาทิ การฟ้อนเล็บ การฟ้อนดาบ และการตีกลองสะบัดชัย
เพื่อถวายแด่องค์พ่อขุนเม็งรายมหาราช อีกทั้งยังเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที
และการเคารพต่อดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่าน โดยพี่น้องชาวเชียงราย
และพี่น้องชุมชนในเขตเทศบาลจะเข้าร่วมในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ด้วยการนำพานพุ่ม
หรือพานดอกไม้เครื่องบูชาสักการะ ถวายดวงพระวิญญาณพ่อขุนเม็งรายมหาราช
เพื่อความร่มเย็นของเมืองเชียงรายและความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วย
นอกจากพิธีดังกล่าวแล้ว
ในช่วงปลายเดือนมกราคมของทุกปี จังหวัดเชียงรายร่วมกับองค์กรต่าง ๆ
ทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการร่วมกันจัดงานกาชาดประจำปีของจังหวัดเชียงรายหรือที่นิยมเรียกกันว่า
"งานพ่อขุนเม็งรายมหาราช" ซึ่งจัดขึ้นประมาณปลายเดือนมกราคมของทุกปี
ภายในงานจะมีการออกร้านจัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน งานรื่นเริงต่าง ๆ
การจัดจำหน่ายสินค้า อาหาร และข้าวของเครื่องใช้ ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของหวัดเชียงรายได้เป็นอย่างดี
งานปีใหม่เคาท์ดาวน์หอนาฬิกา
มหกรรมงานวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ร่วมนับถอยหลัง(เค้าท์ดาวน์) เพื่อเข้าสู่ปีใหม่พร้อมกัน ณ
บริเวณหอนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติ ถนนบรรพปราการ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ภายในงานมีการเปิดการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม การแสดงของวงดนตรี
และสลับการแสดงของชุมชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา
จากชุมชนและสถาบันการศึกษาในเขตเทศบาลฯ การแสดงกลองบูชาและกลองยาว
การแสดงกลองสะบัดชัย โดยจุดนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
มีการจุดพลุเฉลิมฉลอง และการปล่อยโคมไฟเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
มีฉากหลังเป็นหอนาฬิกาที่สุดอลังการให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศได้ชื่นชมความงดงามโดยงานเริ่มตั้งแต่เวลา
17.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้นไป
งานประเพณีแห่โคมไฟ ไหดอก
จัดขึ้นเนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น
15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและเป็นวันที่เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นหลายประการ
คือ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป
มาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อนซึ่งพระสงฆ์ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
และในวันมาฆบูชานี้พระพุทธเจ้าได้แสดงพระโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์
เนื้อหาโดยสรุปคือ ให้ละเว้นความชั่วทุกชนิด ทำความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส
และเมื่อวันมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบครบรอบทุกปี
เทศบาลนครเชียงรายร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงได้ จัดงานประเพณีแห่โคมไฟ
ไหดอก ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเพื่อให้พุทธศาสนิกชนร่วมกันสร้างบุญกุศลสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
ตักบาตรเที่ยงคืน
ในครั้งอดีตเมื่อใกล้เวลาประมาณเที่ยงคืน
ในคืนวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ จะมีประชาชนจำนวนมากมาร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์
สามเณร ภายในเขตเทศบาลนครเชียงราย ตามถนนสายต่าง ๆ จำนวนหลายร้อยรูป โดยเรียกวันดังกล่าวว่า
"วันเป็งปุ๊ด" และมีประวัติ ความเป็นมาสืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า
พระมหาอุปคุตซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งที่มีมหาอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลโชคลาภวาสนาได้ออกจากการเข้าฌานสมาบัติที่ใต้สะดือทะเลแล้วแปลงกายเป็นสามเณรน้อยออกมาโปรดสัตว์โลกเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ทำบุญตักบาตรพระมหาอุปคุตแล้วบุคคลนั้นถือว่าเป็นผู้มีบุญ
จะมีโชคลาภวาสนาร่ำรวยเป็นเศรษฐีและบังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ซึ่งประเพณีการตักบาตรเที่ยงคืนวันเป็งปุ๊ด
ถือเป็นประเพณีล้านนาที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เพราะว่าแต่ละปีอาจมีวันเพ็ญขึ้น
15 ค่ำ ที่ตรงกับวันพุธ เพียงแค่ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้งเท่านั้น
หลายคนจึงเฝ้ารอที่จะมาทำบุญตักบาตรในวันดังกล่าว
เทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดงานประเพณีตักบาตรวันเป็งปุ๊ดเพื่อให้คงอยู่คู่วัฒนธรรมล้านนาของชาวเชียงรายสืบไป
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
คือ การทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำว่า เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ
ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่าในพรรษาที่ 7
นับแต่วันตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา
จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
แล้วจึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสะนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก
ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง
สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน
เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา
ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง
3 เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทวโรหนะ
ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว
เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้นและเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่
เทศบาลนครเชียงรายจึงได้จัดงานประเพณี "ตักบาตรเทโว"
เพื่อสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกปี
แหล่งที่มาของข้อมูลhttp://www.chiangraicity.go.th/content.php?content_id=36
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย
เชียงราย นับเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน แถมยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้บนดอยสูงที่สลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำและน้ำตกอันงดงามหลายแห่ง รวมถึงมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อ ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง ซึ่งแต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยหากเชียงรายจะเป็นจังหวัดอันดับต้น ๆ ที่นักเดินทางมักคิดถึงเป็นที่แรก ๆ ดังนั้น กระปุกท่องเที่ยวเลยหยิบเอา 15 สถานที่ท่องเที่ยวเชียงราย ที่ใคร ๆ มาแล้วก็ต้องไปเยือนมาแนะนำกันค่ะ
1. ไร่บุญรอด
สิงห์ ปาร์ค (Singha Park) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ไร่บุญรอด ตั้งอยู่ริมถนนสายเด่นห้า-ดงมะดะ อำเภอเมือง ห่างจากเขตชุมชนเมืองเชียงราย ประมาณ 9 กิโลเมตร ในพื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลดอยฮาง ตำบลรอบเวียง ตำบลป่าอ้อดอนชัย และตำบลแม่กรณ์ ความสูงของพื้นที่เฉลี่ย 450 เมตร เหนือจากระดับน้ำทะเล ในฤดูหนาวอากาศค่อนข้างเย็นสบาย
สภาพของพื้นที่โดยทั่ว ๆ ไปเป็นที่ลาด-เนินเขา มีภูเขาเล็ก ๆ พื้นที่มีความลาดเทปานกลาง เป็นพื้นที่เพาะปลูกพื้นหลากหลายชนิด เช่น ชาอู่หลงสายพันธุ์จินซวน (Jin Xuan) หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ ชาอู่หลงเบอร์ 12 เป็นชาสายพันธุ์ไต้หวัน ปลูกบนพื้นที่กว่า 600 ไร่ จำนวนกว่า 761,000 ต้น พื้นที่ปลูกยางพารากว่า 2,700 ไร่ พุทราพันธุ์ซื่อหมี่ กว่า 100 ไร่, สตรอว์เบอร์รี อีกหนึ่งสุดยอดที่มาพร้อมลมหนาว ซึ่งที่ไร่บุญรอดจะปลูกสตรอว์เบอร์รีในพื้นที่ 4 ไร่ สายพันธุ์พระราชทาน 80 เป็นเกษตรกรรมผสมผสาน หมดฤดูกาลจะปลูกแคนตาลูปและมะเขือเทศพันธุ์เลื้อย โดยสตรอว์เบอร์รีจะให้ผลผลิตมกราคม-กุมภาพันธ์ และพืชผักผลไม้เมืองหนาวอีกหลากหลายชนิด
ทั้งนี้ สิงห์ ปาร์ค เปิดบริการให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00–16.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 08 0900 2686 หรือเว็บไซต์ boonrawdfarm.com และ เฟซบุ๊ก Boon Rawd Farm
2. พระธาตุดอยตุง
พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 17.5 บนทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า นำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย จึงปรากฏนามว่า ดอยตุง
ทั้งนี้ พระธาตุดอยตุงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน สหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี
3. พระตำหนักดอยตุงและสวนแม่ฟ้าหลวง
พระตำหนักดอยตุง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 60 กิโลเมตร พระตำหนักดอยตุงเคยเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยฝีมือช่างชาวเหนือ รอบ ๆ พระตำหนักมีสวนดอกไม้หลากพันธุ์ หลายสี ให้ความสวยงามสดชื่น โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเห็นหมอกจาง ๆ บริเวณยอดเขารอบพระตำหนัก มีเจ้าหน้าที่นำชมเป็นรอบ ๆ ละ 20 นาที เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 90 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 5376 7015-7 หรือ www.doitung.org
ส่วน สวนแม่ฟ้าหลวง อยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว อาทิ ดอกซัลเวีย, พิทูเนีย, บีโกเนีย, กุหลาบ, ดอกลำโพง, ไม้มงคลต่าง ๆ, ไม้ยืนต้น และซุ้มไม้เลื้อยอีกมากกว่า 70 ชนิด รูปปั้นต่อเนื่องฝีมือของ มีเซียม ยิบอินซอย (Misiem Yipintsoi) เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.30-18.00 น. ค่าเข้าชม 90 บาท
หอแห่งแรงบันดาลใจ เป็นอาคารแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชวงศ์ มีห้องจัดแสดงนิทรรศการ 8 ห้อง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 50 บาท นอกจากนั้นยังมีร้านขายของที่ระลึก เสื้อผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวงทั้งผักผลไม้ ดอกไม้ พรรณไม้ต่าง ๆ ให้ซื้อกลับไปเป็นของฝาก
นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมทั้งพระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง และหอแห่งแรงบันดาลใจ โดยมีจำหน่ายบัตรรวม ราคา 190 บาท ซุ้มจำหน่ายบัตรเปิดเวลา 06.30-18.00 น. หลังเวลา 17.00 น. จำหน่ายเฉพาะบัตรชมพระตำหนักและสวนแม่ฟ้าหลวง (หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถเช็กราคาได้ที่ www.doitung.org)
4. วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น อยู่ในท้องที่ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง ออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2540 โดยบนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ และขยายออกเป็น 12 ไร่ พระอุโบสถสีขาวตกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาว เป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาค ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถและห้องแสดงภาพวาดน่าสนใจมาก เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. โทรศัพท์ 0 5367 3579 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดร่องขุ่น.com
การเดินทาง : วัดอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 12 กิโลเมตร บนเส้นทางไปจังหวัดพะเยา เลี้ยวขวาที่สามแยกทางไปน้ำตกขุนกรณ์ ประมาณ 100 เมตร วัดอยู่ซ้ายมือ
5. ดอยแม่สลอง
ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อ บ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 จากสหภาพพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพัน คือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาวจะบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะเจริญเติบโตอยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น
จุดน่าสนใจบนดอยแม่สลอง เช่น ชมไร่ชาและศึกษาวิธีการผลิตชา ขี่ม้าชมทิวทัศน์รอบหมู่บ้านเจียงจาใส และอนุสรณ์สถานอดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย ลองไปศึกษาเรื่องราวและประวัติของชาวดอยแม่สลอง โดยจะมีไกด์คอยนำชม เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อบต. แม่สลองนอก โทรศัพท์ 0 5376 5129
การเดินทางใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน 28 กิโลเมตร เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไป 23 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านอีก้อสามแยก ตรงไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 10 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 64 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร ในกรณีไม่ได้ขับรถมาเองให้ขึ้นรถประจำทางจากตัวเมืองเชียงรายไปต่อรถสองแถวที่ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง
6. ดอยวาวี
ดอยวาวี เป็นชุมชนขนใหญ่ของชาวจีนฮ่อ กองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐานราว 50 ปีมาแล้ว ยึดอาชีพปลูกชาและผลไม้ท่ามกลางบรรยากาศอันสงบเงียบและทิวทัศน์งามของดอยสูงเช่นเดียวกับชุมชนดอยแม่สลอง แม้หมู่บ้านจะมีขนาดเล็ก แต่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกลิ่นอายชุมชนชาวจีนอันเรียบง่าย ราวกับอยู่ทางแถบยูนนานตอนใต้ของจีน ขณะที่พ้นหมู่บ้านออกไปบนดอยก็เขียวขจีด้วยไร่ชาที่ลดหลั่นตามลาดเขา ช่วยประดับทิวทัศน์ชุมชนและเทือกดอยให้งดงามชวนมอง ใกล้กับดอยวาวีมีจุดชมทะเลหมอกอยู่บน “ดอยกาดผี” ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของอำเภอแม่สรวย เมื่อขึ้นไปยืนที่ชะง่อนผาสูง 1,500 เมตร จะสามารถมองเห็นทะเลหมอกหนาทึบเต็มหุบเขา พร้อมกับภาพอลังการของขุนเขาสลับซับซ้อนตามแนวเทือกดอยช้าง ซึ่งดอยกาดผีอยู่ห่างจากดอยวาวีประมาณ 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางค่อนข้างทุรกันดาร ระหว่างทางยังผ่านหมู่บ้านชาวอ่าข่าและเย้า
สถานที่น่าแวะ เช่น ดอยช้าง เป็นที่ตั้งสถานีวิจัยเกษตรที่สูงและหมู่บ้านขาวเขา มีแปลงปลูกผลไม้เมืองหนาวให้เที่ยวชม เช่น เกาลัด บ๊วย ท้อ พลับ พลัม ฯลฯ และไร่กาแฟอาราบิก้า โดยสามารถลองชิมกาแฟสดได้ด้วย ส่วนสินค้าน่าซื้อก็มีทั้งชาอู่หลง ซึ่งชาวจีนฮ่อวาวีนำชาพันธุ์ชิงชิงและชาเบอร์ 12 มาปลูกเพื่อผลิตเป็นชาอู่หลงคุณภาพดีไม่แพ้ต้นตำรับจากไต้หวันจนได้รับความนิยม ลองชิมชากลิ่นหอมและซื้อเป็นของฝากได้
7. วนอุทยานภูชี้ฟ้า
วนอุทยานภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นสุดฮอตของจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับทะเลประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาค้างแรมบริเวณบ้านร่มฟ้าทองทาง ซึ่งห่างจากจุดชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจะเดินขึ้นภูชี้ฟ้าเพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด ระหว่างทางจะพบแปลงปลูกป่านางพญาเสือออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเสี้ยวดอกขาวรอบภูชี้ฟ้าจะออกดอกบานเต็มเชิงเขา
การเดินทางใช้เส้นทางเชียงราย-เทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร และจากเทิง-บ้านปี้ ระยะทาง 6 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 ผ่านบ้านปางค่า บ้านเชงเม้ง เป็นทางลาดยาง ถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง 42 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 1021 สายเทิง-เชียงคำ-บ้านฮวก ก่อนถึงเชียงคำ 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปอุทยานแห่งชาติน้ำตกภูซาง อีก 19 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปยังภูชี้ฟ้าอีก 30 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถนำรถไปจอดไว้ที่ลานจอดรถวนอุทยานภูชี้ฟ้าแล้วเดินเท้าไปจุดชมวิวประมาณ 700 เมตร สอบถามรายละเอียดติดต่อได้ที่ สถานีขนส่งเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 1224 อบต.ตับเต่า โทรศัพท์ 0 5318 9111 และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทรศัพท์ 0 5371 0195-6
8. ดอยผาตั้ง
ดอยผาตั้ง ตั้งอยู่ใกล้ทางหลวงหมายเลข 1093 กิโลเมตรที่ 89 เป็นจุดชมวิวไทย-ลาว มีความสูง 1,635 เมตร และเที่ยวชมทะเลหมอกได้ตลอดปี ซึ่งในเดือนธันวาคมถึงมกราคมมีดอกซากุระบาน และเดือนกุมภาพันธ์ก็จะมีดอกเสี้ยวบานสะพรั่งงดงาม นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิล และชา
การเดินทางจากจังหวัดเชียงรายใช้เส้นทางเชียงราย-เวียงชัย-พญาเม็งราย-บ้านต้า ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152 ระยะทาง 50 กิโลเมตร บ้านต้า-บ้านท่าเจริญ ทางหลวงหมายเลข 1020 ระยะทาง 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริญ-เวียงแก่น-ปางหัด ทางหลวงหมายเลข 1155 ระยะทาง 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร จุดชมวิวช่องผาบ่อง สามารถมองเห็นแม่น้ำโขงทอดตัวคดเคี้ยวในฝั่งลาว หากเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว 103 ทั้งนี้ สภาพเส้นทางบางช่วงสูงชัน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ จุดบริการนักท่องเที่ยวดอยผาตั้ง โทรศัพท์ 0 5391 8301 หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลปอ โทรศัพท์ 0 5371 0300, 0 5391 8265
9. ถนนคนเดินเชียงราย+ถนนคนม่วนเชียงราย
จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงราย จัดโครงการถนนคนเดินเชียงราย “กาดเจียงฮายรำลึก” เชิญชวนนักท่องเที่ยวและประชาชนร่วมสัมผัสวิถีชีวิตแบบล้านนาในอดีต ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และสินค้าของดีของเชียงราย โดยจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์ของเดือน ณ ถนนธนาลัย ตั้งแต่สี่แยกสำนักงานยาสูบฯ ไปจนถึงสี่แยกธนาคารออมสิน ขณะที่ทุกวันอาทิตย์ของเดือนจะมี “ถนนคนม่วนเชียงราย” ซึ่งอยู่บนถนนสันโค้งน้อย บริเวณการจัดงานแบ่งเป็นหลาย ๆ ส่วน โดยมีกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายร่วมกันจัดแสดงกิจกรรมมากมายตลอดเส้นทาง
ทั้งนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก ถนนคนเดินเชียงราย และ chiangraitourism.org
10. วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว ตั้งอยู่บริเวณถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง เป็นวัดที่ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่าเมื่อ พ.ศ. 1897 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่งและได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกะเทาะออกมาจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวสร้างด้วยหยก คือ พระแก้วมรกต นั่นเอง
ปัจจุบันชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ขึ้นแทน เรียกว่า พระหยกเชียงราย หรือ พระพุทธรัตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล ซึ่งสร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ภายในวัดซีกกำแพงด้านทิศใต้ มีพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสนแก้ว ลักษณะเป็นอาคารทรงล้านนาประยุกต์สองชั้น เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา รวบรวมจัดแสดงศิลปวัตถุที่สำคัญของวัด และสิ่งของที่มีผู้นำมาถวาย เช่น พระพุทธรูป พระธาตุ เครื่องใช้เกี่ยวกับศาสนาของล้านนา เช่น เครื่องบูชา ฉัตร ตุง เครื่องเขิน เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 5371 1385 หรือ watphrakaew-chiangrai.com
11. สวนรุกขชาติดอยช้างมูบ
ช้างมูบ เป็นชื่อดอยที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอน คือ ประมาณ 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีอากาศเย็นสดชื่นตลอดปี พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นดงฝิ่นที่ใหญ่ที่สุด และเป็นการเส้นทางลำเลียงยาเสพติดหลักในภูมิภาค สภาพป่าจึงถูกทำลายจนหมดสิ้น ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชประสงค์ให้ฟื้นฟูผืนป่าแถบนี้ให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนรุกขชาติ รวบรวมพรรณไม้พื้นเมืองและพรรณไม้ป่าหายาก กุหลาบพันปีจากหลายประเทศ ต้นนางพญาเสือโคร่ง กล้วยไม้พื้นเมือง รองเท้านารี ฯลฯ ปลูกอยู่ในสวนอย่างเป็นธรรมชาติกลางป่าสน มีเส้นทางการเดินลัดเลาะตามไหล่เขา มีลานสำหรับพักผ่อน ชมทิวทัศน์ได้รอบตัว แลเห็นได้ถึงประเทศเพื่อนบ้าน และลำน้ำโขง
12. อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
ตั้งอยู่ที่ห้าแยกพ่อขุน อำเภอเมือง เส้นทางที่จะไปอำเภอแม่จันหรือแม่สาย สำหรับพ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลัวะจังคราช เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1854 พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน
โดยประชาชนชาวเชียงรายร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพ่อขุนเม็งราย ปั้นโดย นายปกรณ์ เล็กฮอน และทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2507 สำหรับลักษณะของอนุสาวรีย์ คือ เป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเท่าครึ่ง ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา ทรงสวมมาลัยพระกร ทรงสวมธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย ที่พระหัตถ์ซ้ายตรงนิ้วชี้ และทรงฉลองพระบาท ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติประดับอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ด้วย และที่ตรงฐานใต้พระบรมรูปมีคำจารึกว่า "พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ. 1782-1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย"
ทั้งนี้ กู่พระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรสพระเจ้าเม็งราย เมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสขึ้นครองนครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้
13. พิพิธภัณฑ์บ้านดำ
พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ตั้งอยู่ที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง สร้างขึ้นโดย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี นับเป็นแหล่งเรียนรู้อันทรงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมแบบร่วมสมัย ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น โดยภายในบ้านมีสิ่งก่อสร้าง ทั้งวิหาร บ้าน ศาลา ห้องแสดงผลงาน ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 43 สิ่งก่อสร้าง เช่น วิหารเล็ก, มหาวิหาร (อาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ), บ้านสามเหลี่ยม (ที่พักรับรองนักเขียน ลูกศิษย์ และห้องทำงาน), เรือนผกายแก้ว, เรือนเชียงทองทาทาบรุ้ง, อูปปรภพ (ห้องจิตวิญญาณ) และบ้านดำแกลลอรี่ (ศูนย์ข้อมูลและร้านจำหน่ายของที่ระลึก) สอบถามเพื่อเข้าชม โทรศัพท์ 0 5370 5834, 0 5377 6333, 08 1673 1155 หรือ thawan-duchanee.com
14. ดอยหัวแม่คำ
ดอยหัวแม่คำ อยู่สูงจากระดับทะเล 1,850 เมตร เป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเผ่าลีซอ เป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีอีก้อ ม้ง และมูเซอ ในช่วงเวลาซึ่งตรงกับตรุษจีนของทุกปี ชาวลีซอจะจัดงานประเพณีกินวอ ซึ่งเปรียบเสมือนวันขึ้นปีใหม่ ในวันนั้นชาวลีซอแต่งกายสวยงาม มีการกินเลี้ยง เต้นระบำ 7 วัน 7 คืน และในเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ดอยหัวแม่คำงดงามไปด้วย “ดอกบัวตอง” สีเหลืองสดใสสะพรั่งอยู่ทั่วไปตามแนวเขา เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก
การเดินทางจากเชียงรายใช้เส้นทางเดียวกับทางขึ้นดอยแม่สลองสายเก่า ทางหลวงหมายเลข 1130 แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกอีก้อ ผ่านบ้านเทอดไทย ไปจนถึงบ้านแม่คำ ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 100 กิโลเมตร บ้านหัวแม่คำอยู่เกือบสุดชายแดน เส้นทางเป็นทางลูกรังคดโค้งไปตามทิวเขา ใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมง
15. ล่องแม่น้ำกก
แม่น้ำกก เป็นแม่น้ำที่ไหลมาจากบ้านท่าตอนผ่านตัวเมืองเชียงราย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 130 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือริมแม่น้ำในตัวเมือง (ท่าเรือซีอาร์) เพื่อเที่ยวชมทัศนียภาพของแม่น้ำกก สองฟากฝั่งเป็นป่าเขาที่สวยงามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ระหว่างทางยังสามารถแวะชมหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น อีก้อ ลีซอ หรือจะแวะบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรเพื่อนั่งช้างเที่ยวป่ารอบบริเวณ
และนี่ก็คือ 15 สถานที่ท่องเที่ยวเชียงรายที่เราหยิบมาแนะนำกัน หากใครมีโอกาสไปเยือนดินแดนเหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง ก็ไม่ควรพลาดไปสัมผัสกันดูนะคะ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 7433, 0 5370 0051-2 และ 0 5371 7434 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
1. ไร่บุญรอด
สิงห์ ปาร์ค (Singha Park) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ไร่บุญรอด ตั้งอยู่ริมถนนสายเด่นห้า-ดงมะดะ อำเภอเมือง ห่างจากเขตชุมชนเมืองเชียงราย ประมาณ 9 กิโลเมตร ในพื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลดอยฮาง ตำบลรอบเวียง ตำบลป่าอ้อดอนชัย และตำบลแม่กรณ์ ความสูงของพื้นที่เฉลี่ย 450 เมตร เหนือจากระดับน้ำทะเล ในฤดูหนาวอากาศค่อนข้างเย็นสบาย
สภาพของพื้นที่โดยทั่ว ๆ ไปเป็นที่ลาด-เนินเขา มีภูเขาเล็ก ๆ พื้นที่มีความลาดเทปานกลาง เป็นพื้นที่เพาะปลูกพื้นหลากหลายชนิด เช่น ชาอู่หลงสายพันธุ์จินซวน (Jin Xuan) หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ ชาอู่หลงเบอร์ 12 เป็นชาสายพันธุ์ไต้หวัน ปลูกบนพื้นที่กว่า 600 ไร่ จำนวนกว่า 761,000 ต้น พื้นที่ปลูกยางพารากว่า 2,700 ไร่ พุทราพันธุ์ซื่อหมี่ กว่า 100 ไร่, สตรอว์เบอร์รี อีกหนึ่งสุดยอดที่มาพร้อมลมหนาว ซึ่งที่ไร่บุญรอดจะปลูกสตรอว์เบอร์รีในพื้นที่ 4 ไร่ สายพันธุ์พระราชทาน 80 เป็นเกษตรกรรมผสมผสาน หมดฤดูกาลจะปลูกแคนตาลูปและมะเขือเทศพันธุ์เลื้อย โดยสตรอว์เบอร์รีจะให้ผลผลิตมกราคม-กุมภาพันธ์ และพืชผักผลไม้เมืองหนาวอีกหลากหลายชนิด
ทั้งนี้ สิงห์ ปาร์ค เปิดบริการให้ชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00–16.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 08 0900 2686 หรือเว็บไซต์ boonrawdfarm.com และ เฟซบุ๊ก Boon Rawd Farm
2. พระธาตุดอยตุง
พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 17.5 บนทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า นำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย จึงปรากฏนามว่า ดอยตุง
ทั้งนี้ พระธาตุดอยตุงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน สหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี
3. พระตำหนักดอยตุงและสวนแม่ฟ้าหลวง
พระตำหนักดอยตุง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 60 กิโลเมตร พระตำหนักดอยตุงเคยเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยฝีมือช่างชาวเหนือ รอบ ๆ พระตำหนักมีสวนดอกไม้หลากพันธุ์ หลายสี ให้ความสวยงามสดชื่น โดยเฉพาะในฤดูหนาวจะเห็นหมอกจาง ๆ บริเวณยอดเขารอบพระตำหนัก มีเจ้าหน้าที่นำชมเป็นรอบ ๆ ละ 20 นาที เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 90 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 5376 7015-7 หรือ www.doitung.org
ส่วน สวนแม่ฟ้าหลวง อยู่ด้านหน้าพระตำหนักดอยตุง มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาว อาทิ ดอกซัลเวีย, พิทูเนีย, บีโกเนีย, กุหลาบ, ดอกลำโพง, ไม้มงคลต่าง ๆ, ไม้ยืนต้น และซุ้มไม้เลื้อยอีกมากกว่า 70 ชนิด รูปปั้นต่อเนื่องฝีมือของ มีเซียม ยิบอินซอย (Misiem Yipintsoi) เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.30-18.00 น. ค่าเข้าชม 90 บาท
หอแห่งแรงบันดาลใจ เป็นอาคารแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระราชวงศ์ มีห้องจัดแสดงนิทรรศการ 8 ห้อง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 50 บาท นอกจากนั้นยังมีร้านขายของที่ระลึก เสื้อผ้าไหม ผลิตภัณฑ์จากโครงการหลวงทั้งผักผลไม้ ดอกไม้ พรรณไม้ต่าง ๆ ให้ซื้อกลับไปเป็นของฝาก
นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมทั้งพระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวง และหอแห่งแรงบันดาลใจ โดยมีจำหน่ายบัตรรวม ราคา 190 บาท ซุ้มจำหน่ายบัตรเปิดเวลา 06.30-18.00 น. หลังเวลา 17.00 น. จำหน่ายเฉพาะบัตรชมพระตำหนักและสวนแม่ฟ้าหลวง (หมายเหตุ : ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถเช็กราคาได้ที่ www.doitung.org)
4. วัดร่องขุ่น
วัดร่องขุ่น อยู่ในท้องที่ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง ออกแบบและก่อสร้างโดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2540 โดยบนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ และขยายออกเป็น 12 ไร่ พระอุโบสถสีขาวตกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาว เป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาค ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถและห้องแสดงภาพวาดน่าสนใจมาก เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. โทรศัพท์ 0 5367 3579 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดร่องขุ่น.com
การเดินทาง : วัดอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 12 กิโลเมตร บนเส้นทางไปจังหวัดพะเยา เลี้ยวขวาที่สามแยกทางไปน้ำตกขุนกรณ์ ประมาณ 100 เมตร วัดอยู่ซ้ายมือ
5. ดอยแม่สลอง
ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านสันติคิรี เดิมชื่อ บ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 จากสหภาพพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพัน คือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ดอกนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นซากุระพันธุ์ที่เล็กที่สุด สีชมพูอมขาวจะบานสะพรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลอง เป็นพันธุ์ไม้ที่หาชมได้ยากในเมืองไทย เพราะเจริญเติบโตอยู่แต่เฉพาะในภูมิอากาศหนาวจัดเท่านั้น
จุดน่าสนใจบนดอยแม่สลอง เช่น ชมไร่ชาและศึกษาวิธีการผลิตชา ขี่ม้าชมทิวทัศน์รอบหมู่บ้านเจียงจาใส และอนุสรณ์สถานอดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย ลองไปศึกษาเรื่องราวและประวัติของชาวดอยแม่สลอง โดยจะมีไกด์คอยนำชม เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อบต. แม่สลองนอก โทรศัพท์ 0 5376 5129
การเดินทางใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน 28 กิโลเมตร เลยจากอำเภอแม่จันไป 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายไป 23 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านผาเดื่อ ซึ่งเป็นจุดแวะชมและซื้อหัตถกรรมชาวเขา จากนั้นเดินทางจากบ้านอีก้อสามแยก ตรงไปดอยแม่สลอง ระยะทาง 10 กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงราย 64 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย และจากดอยแม่สลองมีถนนเชื่อมต่อไปถึงบ้านท่าตอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทาง 45 กิโลเมตร ในกรณีไม่ได้ขับรถมาเองให้ขึ้นรถประจำทางจากตัวเมืองเชียงรายไปต่อรถสองแถวที่ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง
6. ดอยวาวี
ดอยวาวี เป็นชุมชนขนใหญ่ของชาวจีนฮ่อ กองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐานราว 50 ปีมาแล้ว ยึดอาชีพปลูกชาและผลไม้ท่ามกลางบรรยากาศอันสงบเงียบและทิวทัศน์งามของดอยสูงเช่นเดียวกับชุมชนดอยแม่สลอง แม้หมู่บ้านจะมีขนาดเล็ก แต่ผู้มาเยือนจะได้สัมผัสกลิ่นอายชุมชนชาวจีนอันเรียบง่าย ราวกับอยู่ทางแถบยูนนานตอนใต้ของจีน ขณะที่พ้นหมู่บ้านออกไปบนดอยก็เขียวขจีด้วยไร่ชาที่ลดหลั่นตามลาดเขา ช่วยประดับทิวทัศน์ชุมชนและเทือกดอยให้งดงามชวนมอง ใกล้กับดอยวาวีมีจุดชมทะเลหมอกอยู่บน “ดอยกาดผี” ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของอำเภอแม่สรวย เมื่อขึ้นไปยืนที่ชะง่อนผาสูง 1,500 เมตร จะสามารถมองเห็นทะเลหมอกหนาทึบเต็มหุบเขา พร้อมกับภาพอลังการของขุนเขาสลับซับซ้อนตามแนวเทือกดอยช้าง ซึ่งดอยกาดผีอยู่ห่างจากดอยวาวีประมาณ 20 กิโลเมตร ตามเส้นทางค่อนข้างทุรกันดาร ระหว่างทางยังผ่านหมู่บ้านชาวอ่าข่าและเย้า
สถานที่น่าแวะ เช่น ดอยช้าง เป็นที่ตั้งสถานีวิจัยเกษตรที่สูงและหมู่บ้านขาวเขา มีแปลงปลูกผลไม้เมืองหนาวให้เที่ยวชม เช่น เกาลัด บ๊วย ท้อ พลับ พลัม ฯลฯ และไร่กาแฟอาราบิก้า โดยสามารถลองชิมกาแฟสดได้ด้วย ส่วนสินค้าน่าซื้อก็มีทั้งชาอู่หลง ซึ่งชาวจีนฮ่อวาวีนำชาพันธุ์ชิงชิงและชาเบอร์ 12 มาปลูกเพื่อผลิตเป็นชาอู่หลงคุณภาพดีไม่แพ้ต้นตำรับจากไต้หวันจนได้รับความนิยม ลองชิมชากลิ่นหอมและซื้อเป็นของฝากได้
7. วนอุทยานภูชี้ฟ้า
วนอุทยานภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นสุดฮอตของจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับทะเลประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาค้างแรมบริเวณบ้านร่มฟ้าทองทาง ซึ่งห่างจากจุดชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจะเดินขึ้นภูชี้ฟ้าเพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด ระหว่างทางจะพบแปลงปลูกป่านางพญาเสือออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเสี้ยวดอกขาวรอบภูชี้ฟ้าจะออกดอกบานเต็มเชิงเขา
การเดินทางใช้เส้นทางเชียงราย-เทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร และจากเทิง-บ้านปี้ ระยะทาง 6 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 ผ่านบ้านปางค่า บ้านเชงเม้ง เป็นทางลาดยาง ถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง 42 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 1021 สายเทิง-เชียงคำ-บ้านฮวก ก่อนถึงเชียงคำ 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปอุทยานแห่งชาติน้ำตกภูซาง อีก 19 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปยังภูชี้ฟ้าอีก 30 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถนำรถไปจอดไว้ที่ลานจอดรถวนอุทยานภูชี้ฟ้าแล้วเดินเท้าไปจุดชมวิวประมาณ 700 เมตร สอบถามรายละเอียดติดต่อได้ที่ สถานีขนส่งเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 1224 อบต.ตับเต่า โทรศัพท์ 0 5318 9111 และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทรศัพท์ 0 5371 0195-6
8. ดอยผาตั้ง
ดอยผาตั้ง ตั้งอยู่ใกล้ทางหลวงหมายเลข 1093 กิโลเมตรที่ 89 เป็นจุดชมวิวไทย-ลาว มีความสูง 1,635 เมตร และเที่ยวชมทะเลหมอกได้ตลอดปี ซึ่งในเดือนธันวาคมถึงมกราคมมีดอกซากุระบาน และเดือนกุมภาพันธ์ก็จะมีดอกเสี้ยวบานสะพรั่งงดงาม นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีนฮ่อ ม้ง และเย้า โดยเฉพาะจีนฮ่อนั้น อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกองพล 93 ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาตั้งนี้ ปัจจุบันประกอบอาชีพทางการเกษตร ปลูกพืชเมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ สาลี่ แอปเปิล และชา
การเดินทางจากจังหวัดเชียงรายใช้เส้นทางเชียงราย-เวียงชัย-พญาเม็งราย-บ้านต้า ทางหลวงหมายเลข 1233, 1173 และ 1152 ระยะทาง 50 กิโลเมตร บ้านต้า-บ้านท่าเจริญ ทางหลวงหมายเลข 1020 ระยะทาง 45 กิโลเมตร บ้านท่าเจริญ-เวียงแก่น-ปางหัด ทางหลวงหมายเลข 1155 ระยะทาง 17 กิโลเมตร และปางหัด-ดอยผาตั้ง อีก 15 กิโลเมตร จุดชมวิวช่องผาบ่อง สามารถมองเห็นแม่น้ำโขงทอดตัวคดเคี้ยวในฝั่งลาว หากเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว 103 ทั้งนี้ สภาพเส้นทางบางช่วงสูงชัน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ จุดบริการนักท่องเที่ยวดอยผาตั้ง โทรศัพท์ 0 5391 8301 หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลปอ โทรศัพท์ 0 5371 0300, 0 5391 8265
9. ถนนคนเดินเชียงราย+ถนนคนม่วนเชียงราย
จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงราย จัดโครงการถนนคนเดินเชียงราย “กาดเจียงฮายรำลึก” เชิญชวนนักท่องเที่ยวและประชาชนร่วมสัมผัสวิถีชีวิตแบบล้านนาในอดีต ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และสินค้าของดีของเชียงราย โดยจะจัดขึ้นทุกวันเสาร์ของเดือน ณ ถนนธนาลัย ตั้งแต่สี่แยกสำนักงานยาสูบฯ ไปจนถึงสี่แยกธนาคารออมสิน ขณะที่ทุกวันอาทิตย์ของเดือนจะมี “ถนนคนม่วนเชียงราย” ซึ่งอยู่บนถนนสันโค้งน้อย บริเวณการจัดงานแบ่งเป็นหลาย ๆ ส่วน โดยมีกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายร่วมกันจัดแสดงกิจกรรมมากมายตลอดเส้นทาง
ทั้งนี้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก ถนนคนเดินเชียงราย และ chiangraitourism.org
10. วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว ตั้งอยู่บริเวณถนนไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง เป็นวัดที่ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่าเมื่อ พ.ศ. 1897 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่าเจดีย์ร้างองค์หนึ่งและได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกะเทาะออกมาจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวสร้างด้วยหยก คือ พระแก้วมรกต นั่นเอง
ปัจจุบันชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหม่ขึ้นแทน เรียกว่า พระหยกเชียงราย หรือ พระพุทธรัตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล ซึ่งสร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ภายในวัดซีกกำแพงด้านทิศใต้ มีพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสนแก้ว ลักษณะเป็นอาคารทรงล้านนาประยุกต์สองชั้น เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรมล้านนา รวบรวมจัดแสดงศิลปวัตถุที่สำคัญของวัด และสิ่งของที่มีผู้นำมาถวาย เช่น พระพุทธรูป พระธาตุ เครื่องใช้เกี่ยวกับศาสนาของล้านนา เช่น เครื่องบูชา ฉัตร ตุง เครื่องเขิน เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 5371 1385 หรือ watphrakaew-chiangrai.com
11. สวนรุกขชาติดอยช้างมูบ
ช้างมูบ เป็นชื่อดอยที่สูงที่สุดของเทือกเขานางนอน คือ ประมาณ 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีอากาศเย็นสดชื่นตลอดปี พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นดงฝิ่นที่ใหญ่ที่สุด และเป็นการเส้นทางลำเลียงยาเสพติดหลักในภูมิภาค สภาพป่าจึงถูกทำลายจนหมดสิ้น ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชประสงค์ให้ฟื้นฟูผืนป่าแถบนี้ให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โครงการพัฒนาดอยตุงฯ จึงพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนรุกขชาติ รวบรวมพรรณไม้พื้นเมืองและพรรณไม้ป่าหายาก กุหลาบพันปีจากหลายประเทศ ต้นนางพญาเสือโคร่ง กล้วยไม้พื้นเมือง รองเท้านารี ฯลฯ ปลูกอยู่ในสวนอย่างเป็นธรรมชาติกลางป่าสน มีเส้นทางการเดินลัดเลาะตามไหล่เขา มีลานสำหรับพักผ่อน ชมทิวทัศน์ได้รอบตัว แลเห็นได้ถึงประเทศเพื่อนบ้าน และลำน้ำโขง
12. อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
ตั้งอยู่ที่ห้าแยกพ่อขุน อำเภอเมือง เส้นทางที่จะไปอำเภอแม่จันหรือแม่สาย สำหรับพ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลัวะจังคราช เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1854 พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน
โดยประชาชนชาวเชียงรายร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพ่อขุนเม็งราย ปั้นโดย นายปกรณ์ เล็กฮอน และทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2507 สำหรับลักษณะของอนุสาวรีย์ คือ เป็นพระรูปของพระองค์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเท่าครึ่ง ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงพระมหากษัตริย์ล้านนาโบราณ ประทับยืนบนฐานสูงประมาณ 3 เมตร ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ซ้ายแนบกับพระเพลา ทรงสวมมาลัยพระกร ทรงสวมธำมรงค์ที่พระหัตถ์ขวาตรงนิ้วนางและนิ้วก้อย ที่พระหัตถ์ซ้ายตรงนิ้วชี้ และทรงฉลองพระบาท ปัจจุบันมีตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติประดับอยู่ทางด้านหลังอนุสาวรีย์ด้วย และที่ตรงฐานใต้พระบรมรูปมีคำจารึกว่า "พ่อขุนเม็งรายมหาราช พ.ศ. 1782-1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรกเมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาไทยให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย"
ทั้งนี้ กู่พระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรสพระเจ้าเม็งราย เมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสขึ้นครองนครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้
13. พิพิธภัณฑ์บ้านดำ
พิพิธภัณฑ์บ้านดำ ตั้งอยู่ที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง สร้างขึ้นโดย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี นับเป็นแหล่งเรียนรู้อันทรงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมแบบร่วมสมัย ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น โดยภายในบ้านมีสิ่งก่อสร้าง ทั้งวิหาร บ้าน ศาลา ห้องแสดงผลงาน ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 43 สิ่งก่อสร้าง เช่น วิหารเล็ก, มหาวิหาร (อาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะ), บ้านสามเหลี่ยม (ที่พักรับรองนักเขียน ลูกศิษย์ และห้องทำงาน), เรือนผกายแก้ว, เรือนเชียงทองทาทาบรุ้ง, อูปปรภพ (ห้องจิตวิญญาณ) และบ้านดำแกลลอรี่ (ศูนย์ข้อมูลและร้านจำหน่ายของที่ระลึก) สอบถามเพื่อเข้าชม โทรศัพท์ 0 5370 5834, 0 5377 6333, 08 1673 1155 หรือ thawan-duchanee.com
14. ดอยหัวแม่คำ
ดอยหัวแม่คำ อยู่สูงจากระดับทะเล 1,850 เมตร เป็นที่ตั้งหมู่บ้านชาวเขาขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเผ่าลีซอ เป็นกลุ่มชนส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีอีก้อ ม้ง และมูเซอ ในช่วงเวลาซึ่งตรงกับตรุษจีนของทุกปี ชาวลีซอจะจัดงานประเพณีกินวอ ซึ่งเปรียบเสมือนวันขึ้นปีใหม่ ในวันนั้นชาวลีซอแต่งกายสวยงาม มีการกินเลี้ยง เต้นระบำ 7 วัน 7 คืน และในเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่ดอยหัวแม่คำงดงามไปด้วย “ดอกบัวตอง” สีเหลืองสดใสสะพรั่งอยู่ทั่วไปตามแนวเขา เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก
การเดินทางจากเชียงรายใช้เส้นทางเดียวกับทางขึ้นดอยแม่สลองสายเก่า ทางหลวงหมายเลข 1130 แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกอีก้อ ผ่านบ้านเทอดไทย ไปจนถึงบ้านแม่คำ ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 100 กิโลเมตร บ้านหัวแม่คำอยู่เกือบสุดชายแดน เส้นทางเป็นทางลูกรังคดโค้งไปตามทิวเขา ใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมง
15. ล่องแม่น้ำกก
แม่น้ำกก เป็นแม่น้ำที่ไหลมาจากบ้านท่าตอนผ่านตัวเมืองเชียงราย มีความยาวรวมทั้งสิ้น 130 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือจากท่าเรือริมแม่น้ำในตัวเมือง (ท่าเรือซีอาร์) เพื่อเที่ยวชมทัศนียภาพของแม่น้ำกก สองฟากฝั่งเป็นป่าเขาที่สวยงามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ ระหว่างทางยังสามารถแวะชมหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น อีก้อ ลีซอ หรือจะแวะบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตรเพื่อนั่งช้างเที่ยวป่ารอบบริเวณ
และนี่ก็คือ 15 สถานที่ท่องเที่ยวเชียงรายที่เราหยิบมาแนะนำกัน หากใครมีโอกาสไปเยือนดินแดนเหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง ก็ไม่ควรพลาดไปสัมผัสกันดูนะคะ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 7433, 0 5370 0051-2 และ 0 5371 7434 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
แหล่งที่มาของข้อมูล https://kitsarak001.blogspot.com/b/post-preview?token=NsE6jlABAAA.Tf49VbmDdAZoTXxUV21JhcbXg4TYaa3xekG8WG361HbUS4b16SOAGAjZFpxLCw0b6Pnz6V2sSeoPybxGF7UcYw.tD_K9c6AsS1vmbKxZnih1w&postId=6381599241383833940&type=POST
ประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงราย
สมัยราชวงศ์มังราย
พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำกก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4.E0.B8.A8.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.95.E0.B8.A3.E0.B9.8C
พงศาวดารโยนกว่า พญามังรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงไชยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่จนถึง พ.ศ. 1860 ส่วนตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ระบุว่า พญามังรายทรงเสด็จตามช้างมาทางทิศตะวันออกแล้วเห็นชัยภูมิเหมาะแก่การสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำกก จึงสร้างเป็นเวียงล้อมรอบดอยจอมทองไว้ในปี พ.ศ. 1805
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพญามังรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพญาไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของพม่า
ครั้นต่อมาเมื่อล้านนาตกไปอยู่ในปกครองของพม่า ในปี พ.ศ. 2101 พม่าได้ตั้งขุนนางปกครองเมืองเชียงรายเรื่อยมา หลังจากนั้น พ.ศ. 2317 เจ้ากาวิละแห่งลำปางได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพฯ ทำให้หัวเมืองล้านนาฝ่ายใต้ตกเป็นประเทศราชของสยาม ขณะที่เชียงรายและหัวเมืองล้านนาฝ่านเหนืออื่น ๆ ยังคงอยู่ใต้อำนาจพม่า ล้านนากลายเป็นพื้นที่แย่งชิงอำนาจระหว่างสยามกับพม่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงรายเริ่มร้างผู้คน ประชาชนอพยพหนีภัยสงครามไปอยู่เมืองอื่น บ้างก็ถูกกวาดต้อนลงไปทางใต้ พ.ศ. 2247 เมืองเชียงแสนฐานที่มั่นสุดท้ายของพม่า ถูกกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และน่าน ตีแตก เมืองเชียงรายจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างตามเมืองเชียงแสน
สมัยล้านนาภายใต้การปกครองของสยาม
ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเชียงรายขึ้นใหม่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย
อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4.E0.B8.A8.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.95.E0.B8.A3.E0.B9.8C
แผนที่และการเดินทาง
อ้างอิง http://www.novabizz.com/Map/3.htm
ข้อมูลการเดินทางเชียงราย
รถยนต์
สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่จังหวัดลำปาง แล้วตรง ไปจังหวัดพะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร
2. เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกขวามือไปตาม ทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) จากจังหวัดพิษณุโลก ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงอำเภอเด่นชัย ให้เลี้ยวไปทางจังหวัดแพร่ ตามทางหลวง หมายเลข 101 (แพร่-น่าน) จนถึงอำเภอ ร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 103 ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่อำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา แล้วตรงต่อไป จนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร
3. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 จนไปถึงจังหวัดลำปาง จึงเปลี่ยนไปใช้ทาง หลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เชียงใหม่) ผ่านไปจังหวัดลำพูน แล้วเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ผ่านดอยสะเก็ต แม่ขะจาน เวียงป่าเป้าเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 900 กิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูน มาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ
สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง ได้แก่
1. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-พะเยา-เชียงราย จากรังสิตมาตามถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1) แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 32 ที่อำเภอวังน้อย จากนั้นผ่านจังหวัดอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก เข้าสู่จังหวัดลำปาง แล้วตรง ไปจังหวัดพะเยา จนเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 830 กิโลเมตร
2. เส้นทางนครสวรรค์-พิษณุโลก-แพร่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 เมื่อไปถึงจังหวัดนครสวรรค์ ให้แยกขวามือไปตาม ทางหลวงหมายเลข 117 (นครสวรรค์-พิษณุโลก) จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) จากจังหวัดพิษณุโลก ผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงอำเภอเด่นชัย ให้เลี้ยวไปทางจังหวัดแพร่ ตามทางหลวง หมายเลข 101 (แพร่-น่าน) จนถึงอำเภอ ร้องกวาง เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 103 ไปบรรจบกับถนนพหลโยธินที่อำเภองาว เข้าสู่จังหวัดพะเยา แล้วตรงต่อไป จนถึงเชียงราย ระยะทางประมาณ 804 กิโลเมตร
3. เส้นทางนครสวรรค์-ลำปาง-เชียงใหม่-เชียงราย ใช้เส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ 1 จนไปถึงจังหวัดลำปาง จึงเปลี่ยนไปใช้ทาง หลวงหมายเลข 11 (ลำปาง-เชียงใหม่) ผ่านไปจังหวัดลำพูน แล้วเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่-เชียงราย) ผ่านดอยสะเก็ต แม่ขะจาน เวียงป่าเป้าเข้าสู่เชียงราย รวมระยะทาง 900 กิโลเมตร มีทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านลำพูน มาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ
รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของ บ.ข.ส. และของเอกชน ไปเชียงรายทุกวัน แบ่งเป็นหลายเส้นทางได้แก่ กรุงเทพฯ – เชียงราย, กรุงเทพฯ – แม่สาย, กรุงเทพฯ – เชียงแสน, กรุงเทพฯ – เชียงของ โดยจะมีรถออกจากสถานีขนส่ง สายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายเหนือ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2852-66
สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1369
บริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2954 3601-7 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1882
บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495 สำนักงานเชียงราย
บริษัท อินทราทัวร์ โทร. 0 2936 2492 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1235
บริษัท คฤหาสน์ทัวร์ โทร. 0 2936 3531 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 7083
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของ บ.ข.ส. และของเอกชน ไปเชียงรายทุกวัน แบ่งเป็นหลายเส้นทางได้แก่ กรุงเทพฯ – เชียงราย, กรุงเทพฯ – แม่สาย, กรุงเทพฯ – เชียงแสน, กรุงเทพฯ – เชียงของ โดยจะมีรถออกจากสถานีขนส่ง สายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายเหนือ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2852-66
สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1369
บริษัท สยามเฟิร์สทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2954 3601-7 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1882
บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495 สำนักงานเชียงราย
บริษัท อินทราทัวร์ โทร. 0 2936 2492 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1235
บริษัท คฤหาสน์ทัวร์ โทร. 0 2936 3531 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 7083
ตารางการเดินรถกรุงเทพ-เชียงราย
ตารางเวลาเดินรถปรับอากาศชั้น 1 (ก) VIP 24 ที่นั่ง ภาคเหนือ | |||||
เส้นทาง
|
ค่าโดยสาร
|
ระยะทาง
|
ระยะเวลา
|
เวลาต้นทาง
|
เวลาปลายทาง
|
กรุงเทพฯ-เชียงราย |
1,035
|
766
|
11.30
|
19.15,19.30,20.00
|
18.30,19.00
|
กรุงเทพฯ-แม่สาย |
1,105
|
857
|
12.00
|
07.30,19.00,19.40
|
07.00,17.30
|
ตารางเวลาเดินรถปรับอากาศชั้น 1 (ก) VIP 32 ที่นั่ง ภาคเหนือ | |||||
เส้นทาง
|
ค่าโดยสาร
|
ระยะทาง
|
ระยะเวลา
|
เวลาต้นทาง
|
เวลาปลายทาง
|
กรุงเทพฯ-เชียงแสน |
882
|
710
|
12.30
|
18.00
|
18.00
|
กรุงเทพฯ-เชียงของ |
848
|
875
|
13.00
|
19.00
| |
ตารางเวลาเดินรถปรับอากาศชั้น 1 (ก) VIP 40 ที่นั่ง ภาคเหนือ | |||||
เส้นทาง
|
ค่าโดยสาร
|
ระยะทาง
|
ระยะเวลา
|
เวลาต้นทาง
|
เวลาปลายทาง
|
กรุงเทพฯ-เชียงราย |
668
|
801
|
10.00
|
07.50,19.30,21.00
|
20.00
|
กรุงเทพฯ-แม่สาย |
713
|
875
|
10.30
|
17.30
|
17.30
|
กรุงเทพฯ-เทิง- เชียงของ |
727
|
875
|
13.00
|
07.00,20.00
|
08.30,20.00
|
* อ้างอิงจากบริษัทขนส่งจำกัด ข้อมูลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาสอบถามที่ 02- 936-2841-48,
เครื่องบิน
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย และเที่ยวบินไป-กลับ ระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่ ทุกวัน วันละ 2 เที่ยว สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1179, 0 5371 5207 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044 www.thaiairways.com
นอกจากนี้สายการบิน วัน-ทู-โก บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1126 หรือhttp://www.fly12go.com
สายการบิน SGA เส้นทางระหว่าง เชียงใหม่-เชียงราย สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2664 6099 หรือhttp://www.sgaairlines.com
สายการบินไทย แอร์ เอเชีย บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ -เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2515 9999 หรือwww.airasia.com
สายการบิน นกแอร์ บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1318 หรือ www.nokair.com
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย และเที่ยวบินไป-กลับ ระหว่างเชียงราย-เชียงใหม่ ทุกวัน วันละ 2 เที่ยว สอบถามรายละเอียด โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000, 0 2356 1111 สำนักงานเชียงราย โทร. 0 5371 1179, 0 5371 5207 สำนักงานเชียงใหม่ โทร. 0 5321 0043-5, 0 5321 1044 www.thaiairways.com
นอกจากนี้สายการบิน วัน-ทู-โก บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1126 หรือhttp://www.fly12go.com
สายการบิน SGA เส้นทางระหว่าง เชียงใหม่-เชียงราย สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2664 6099 หรือhttp://www.sgaairlines.com
สายการบินไทย แอร์ เอเชีย บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ -เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 2515 9999 หรือwww.airasia.com
สายการบิน นกแอร์ บริการเที่ยวบิน กรุงเทพฯ-เชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1318 หรือ www.nokair.com
ระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงรายไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง | กิโลเมตร |
อำเภอแม่ฟ้าหลวง | - กิโลเมตร |
อำเภอขุนตาล | - กิโลเมตร |
อำเภอแม่ลาว | -กิโลเมตร |
อำเภอเวียงชัย | 12 กิโลเมตร |
อำเภอแม่จัน | 20 กิโลเมตร |
อำเภอเวียงเชียงรุ้ง | 35 กิโลเมตร |
อำเภอพาน | 46 กิโลเมตร |
อำเภอพญาเม็งราย | 48 กิโลเมตร |
อำเภอป่าแดด | 52 กิโลเมตร |
อำเภอแม่สรวย | 53 กิโลเมตร |
อำเภอเชียงแสน | 60 กิโลเมตร |
อำเภอแม่สาย | 63 กิโลเมตร |
อำเภอเทิง | 64 กิโลเมตร |
อำเภอดอยหลวง | 67 กิโลเมตร |
อำเภอเวียงป่าเป้า | 91 กิโลเมตร |
อำเภอเวียงแก่น | 127 กิโลเมตร |
อำเภอเชียงของ | 141 กิโลเมตร |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)